"ขนมลา" เป็นขนมที่แสดงถึงศิลปะการผลิตที่ประณีตบรรจงยิ่งทำจากแป้งข้าวจ้าวผสมน้ำผึ้งจาก ซึ่งจะต้องใช้เวลาเตรียมแป้งเป็นเวลาหลายวัน เมื่อได้วัตถุดิบมาพร้อมจะค่อยๆ ละเลง ด้วยกระป๋องเจาะรูเล็กๆ ลงไปบนกระทะที่อาบน้ำมันร้อนระอุ เมื่อแป้งสุกก็จะกลายเป็นแผ่นขนมลา ที่มีเส้นเล็กบางราวสายใหม และสอดสานกันเป็นร่างแห เมื่อนำหลายแผ่นมาเรียงซ้อนกัน ก็จะเป็นผับคล้ายผ้าผับ ดูแปลกตา แต่สามารถกินได้ ตั้งแต่เด็ก ถึงผู้ใหญ่ หรือ วัยชรา เป็นขนมต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง หรือเป็นของฝาก ปัจจุบันนี้ขนมลามีจำหน่ายตลอดทั้งปี (เมื่อก่อนมีเฉพาะในเทศการเดือนสิบ) เพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน ปัจจุบันมีผู้บริโภคอย่างกว้างขวางขึ้น มีที่ขายเป็นประจำ คือ ที่บ้านหอยราก (บ้านศรีสมบูรณ์) ที่ท่าเรือจ้างปากพนัง และไปขายไกลถึงวัดพระธาตุนครฯ ก็มีทุกวัน นอกจากนี้ยังมีรูปแบบใหม่ๆ ของขนมลาออกมาเรื่อยๆ เช่น ขนมลากรอบซึ่งเอาลาแผ่นไปอับน้ำผึ้ง หรือน้ำตาล แล้วไปอบด้วยเตาอบ เตาปิ้ง อาจทำเป็นม้วน ๆ คล้ายขนมทองม้วน หรือผับเป็นแผ่นเล็กๆ ขนาดกินสองคำหมดก็ได้ แหล่งที่ทำขนมลา นับว่าทำกินในเทศกาลเดือนสิบทั่วทั้งอำเภอ แต่ที่ขึ้นชื่อและเป็นแหล่งจำหน่ายที่อื่นก็คือ ลาหอยราก (บ้านศรีสมบุรณ์) ซึ่งทำกันมาในปัจจุบันและได้รับการสนับสนุนจากทางอำเภอ จากเทสบาลให้มีการจัดงาน "วันขนมลา" ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของปากพนัง ก็นับว่าเป็นความคิดที่ดี สมควรที่จะสนับสนุนต่อไป ขนมลา ในความหมายของการปรุง แต่เดิมนั้น มุ่งหมายปรุงเป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิด ที่ใช้บรรจุหมฺรบ (สำรับ) เพื่อนำถวายพระสงฆ์ และทำพิธีชิงเปรตในงานบุญเดือนสิบ เพื่ออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปเป็นเปรตอยู่ในนรกภูมิ โดยมีความหมายเป็นนัยว่า "ลา คือ แพรพรรณ เสื้อผ้า" ที่เปรตจะรับไปใช้โดยจะขึ้นมารับในวันแรม 14-15 ค่ำ เดือนสิบ ของทุกๆ ปี จึงเป็นภาระและหน้าที่ของชาวปากพนังทุกคนที่ต้องรักษาวัฒนธรรมนี้เอาไว้ต่อไป